สาระพลังงาน
เครื่องมือคำนวณประสิทธิภาพพลังงานแสงอาทิตย์ทุกพื้นที่บนโลก (Global Solar Atlas)
เครื่องมือคำนวณพลังงาน ธนาคารโลก (The World Bank) และ บริษัท เงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation) จับมือร่วมกันสร้าง website Global Solar Atlas เครื่องมือระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ที่รวบรวมข้อมูลลักษณะภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศบนโลกของเรา โดยจุดประสงค์หลักของเครื่องมือนี้จะเก็บข้อมูลพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องกระทบลงพื้นดิน โดยโครงการนี้ได้รับเงินทุนสนับสนุนพัฒนาระบบสารสนเทศโดย หน่วยงาน Energy Sector Management Assistance Program โดยธนาคารโลก ได้มอบหมายให้บริษัท Solargis เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บข้อมูลพลังงานแสงอาทิตย์
ฟาร์มขนาดเล็กก็มีปัญหาในจุดนี้เหมือนกับฟาร์มขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ ดังนั้น สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ศึกษาวิจัยและได้นำเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพระบบ CD-Junior (Channel Digester-Junior) และระบบบ่อหมักโดมคงที่ (Fixed dome) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการหมักย่อยสลายสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสีย โดยอาศัยกลุ่มของจุลินทรีย์ชนิดที่ไม่ใช้อากาศ ทำหน้าที่หมักและย่อยสลายสารอินทรีย์ให้เปลี่ยนรูปไปเป็นก๊าซชีวภาพมาใช้กับฟาร์มขนาดเล็ก เพื่อบำบัดน้ำเสียภายในฟาร์ม
ในขั้นตอนการปลูกข้าวชาวนามักปล่อยน้ำขังในนาข้าว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการหมักหมมจนเกิดก๊าซมีเทนต้นเหตุของภาวะโลกร้อน อีกทั้งการใช้น้ำปริมาณมาก อาจทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำได้ แต่ชาวนาใน 6 จังหวัดภาคกลางกำลังปรับเปลี่ยนการทำนาของพวกเขาด้วย 4 เทคโนโลยีที่ช่วยลดปัจจัยโลกร้อน และยังช่วยลดต้นการผลิตได้ด้วย
ถังหมักรักษ์โลก (Green Cone) ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในประเทศแคนาดา
โดยมีวัตถุประสงค์ในการออกแบบและสร้างขึ้นเพื่อจัดการกับขยะอินทรีย์ที่เหลือจากครัวเรือน เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเชื้อโรคหรือไปปนเปื้อนกับขยะอื่นๆที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อีกทั้งยังได้ประโยชน์ในเรื่องของธาตุอาหารที่เป็นผลพลอยได้ใช้ในการปรับปรุงดิน ทำให้ดินมีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช
Pyrolysis Mobile Unit และ รถต้นแบบเทคโนโลยีการเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดพร้อมสับย่อย
ERDI-CMU ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานเมื่อปี 2558 ในการวิจัย ออกแบบและสร้างรถต้นแบบ Pyrolysis Mobile Unit ที่มีคุณสมบัติ เป็นหน่วยรถเคลื่อนที่ผลิตถ่านชีวภาพด้วยกระบวนการ Pyrolysis ได้ถ่านชีวภาพอัดเม็ด ทดแทนถ่านหินได้130ตัน/ปี ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก 200,000 กก.คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า/ปี
กระบวนการบริหารจัดการขยะ ของเมืองบิลเบา นั้น เริ่มต้นจากการออกกฎระเบียบ และสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนในการคัดแยกขยะ โดยรัฐ มีการจัดวางถังเก็บขยะ7ใบ7สีแยกตามประเภท เอาไว้ใกล้ๆกับชุมชน ขยะที่ถูกจัดแบ่งเป็น7ประเภท นั้น ประกอบด้วย 1.ขยะอินทรีย์ 2.ขยะพลาสติก 3.กระดาษ 4.แก้ว 5.เสื้อผ้า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 6.น้ำมันจากครัวเรือน และ 7 ขยะทั่วไป