สาระพลังงาน

How to สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากฝุ่นควันฉบับ DIY

สร้างพื้นที่ปลอดภัยจากฝุ่นควันได้ด้วยตัวเอง หลักการง่าย ๆ คือ เตรียมห้องเล็กไว้สำหรับทำเป็น Buffer Zone กับ ห้องหลักที่เราต้องการใช้เป็น Safety Zone กรองฝุ่นควันได้ผลแค่ไหน

เปลี่ยนขยะเป็นพลังงานทดแทน

ประเทศไทยได้นำพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในขณะนี้มาใช้ในการผลิตไฟฟ้า ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ และที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นหลังจากเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม คือพลังงานจากขยะ โดยเฉพาะขยะตามบ้านเรือนหรือกิจการต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพสูง ขยะเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นมวลชีวภาพ เช่น กระดาษ เศษอาหาร และไม้ เป็นต้น

“ของเสียจากปาล์มน้ำมัน ปั่นไฟฟ้า ลดโลกร้อน”

การนำน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะข้อดีของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคือมีค่าความสกปรกสูงและมีปริมาณมากในแต่ละวัน จึงมีความเหมาะสมในการนำมาผลิตพลังงานทดแทนในรูปแบบของก๊าซชีวภาพ

ลดฝุ่น PM2.5 กับสถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด(Charging Station)มช.

ฝุ่น PM2.5 ที่มาเยือนในช่วงฤดูหนาวยาวไปถึงต้นฤดูร้อนของทุกปี สาเหตุหนึ่งนอกจากการเผาเศษวัสดุกาเกษตร และการก่อสร้าง ก็คือ การใช้ยายนยนต์ที่ก่อให้มลพิษและฝุ่นควันสถานีอัดประจุไฟฟ้าพลังงานสะอาด(Charging Station)จากพลังงานโซลาร์เซลล์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ถือเป็นตัวเลือกหนึ่งของผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากประหยัดแล้วยังช่วยลดฝุ่นควันอีกด้วย

ศรีวิโรจน์ฟาร์ม(SF) กับแนวทางบริหารจัดการแบบ Zero waste

ด้วยแนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ได้มากกว่ากำไร ทำให้ของเสียที่ได้จากธุรกิจต่างๆของเป็นศูนย์ (Zero waste) จนกระทั้งบริษัทได้เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ระยะที่ 1 ปี 2554 เพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ ด้วยเทคโนโลยีและที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน นั่นจึงเป็นเสมือนจุดต่อยอดในส่วนของเกษตรพลังงานของบริษัทฯ โดยปัจจุบัน ศรีวิโรจน์ฟาร์มมีระบบก๊าซชีวภาพขนาด 8,000 ลูกบาศก์เมตร ในการรองรับมูลไก่เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม

ขยะจากเศษอาหารสู่แก๊สหุงต้ม

ไบโอแก๊สหรือก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร ที่ ตลาดร่มสัก ฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินระบบมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพปริมาตรสูงสุด 16 ลบ.ม.ต่อวัน ผลิตกากตะกอนปุ๋ยสูงสุด 2-5 กก.ต่อวัน โดยนำก๊าซชีวภาพไปทดแทนก๊าซหุงต้มได้เดือนละ 5-6 ถัง สำหรับต้มน้ำฆ่าเชื้อโรคหลังจากการทำความสะอาดภาชนะ เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบันระบบมีกำลังการผลิต 50% ของของเสียเศษอาหาร(ข้อมูลสะสมถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2558)กำจัดของเสียจากโรงอาหารตลาดร่มสักรวม 119 ตัน ผลิตก๊าซชีวภาพสะสม 8,326 ลบ.ม. ทดแทน LPG 4,163 กก.

8ประเทศตัวอย่างเก็บภาษีคาร์บอน

การเก็บภาษีคาร์บอน เป็นเครื่องมือโดยใช้กลไกตลาดลดการพึ่งพาพลังงานเชื้อเพลิงจากพลังงานฟอสซิล และนำไปสู่การเลือกใช้พลังงานสะอาด

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่