โครงการศึกษาการลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพ จากน้ำเสียอุตสาหกรรมเอทานอล

โครงการศึกษาการลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งโรงไฟฟ้าพลังงานก๊าซชีวภาพ จากน้ำเสียอุตสาหกรรมเอทานอล

การลดสีและสารอินทรีย์ในน้ำเสียจากกระบวนการผลิตเอทานอลหลังการบำบัดด้วยระบบก๊าซชีวภาพแล้ว ให้มีค่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศของกระทรวงอุตสาหกรรม (ADMI < 300) ต้องประกอบด้วยกระบวนการทางชีวภาพด้วยเชื้อแบคทีเรียแล้วตามด้วยกระบวนการดูดซับในรูปแบบอนุกรม โดยสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการลดสีและสารอินทรีย์ คือ น้ำเสียความเข้มข้นร้อยละ 25 โดยปริมาตร (หรือเทียบเท่ากับค่าซีโอดีประมาณ 15,000 mg/L) ทำการลดสีด้วยกระบวนการทางชีวภาพด้วยแบคทีเรียเป็นระยะเวลา 6 วัน แล้วตามด้วยกระบวนการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์ทางการค้า C-BON ที่ปริมาณสารดูดซับ 15 g/L ระยะเวลาดูดซับ 12 ชั่วโมง ที่พีเอชของน้ำเสียมีค่าเท่ากับ 2 ซึ่งน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการลดสีแล้ว จะมีค่าสีเท่ากับ 224±6 ADMI

อ่านต่อ...
รูปแบบการประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station)

รูปแบบการประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station)

จากนโยบายการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าของภาครัฐ ทำให้เริ่มมีการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก พบว่า ณ เดือนกันยายน 2562 มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าที่จดทะเบียนแล้วสูงถึง 24,380 คัน กระทรวงพลังงานตระหนักถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้านั้นจำเป็นจะต้องมี EV Charging Station หรือสถานีอัดประจุไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ส่วนบุคคลหรือสาธารณะ โดยมีการใช้งานที่หลากหลายตามความต้องการ ซึ่งรูปแบบการอัดประจุไฟฟ้า สำหรับยานยนต์พลังงานไฟฟ้าแบ่งได้เป็น

อ่านต่อ...
CMUCSTR อีกทางเลือกเทคโนโลยีพลังงานทดแทน

CMUCSTR อีกทางเลือกเทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ทำความรู้จักกับ #CMUCSTR
อีกทางเลือกเทคโนโลยีพลังงานทดแทน
ที่สามารถตอบโจทย์ #โรงไฟฟ้าชุมชน จากพืชพลังงานและน้ำเสีย และแก้ไขปัญหาการกำจัดเศษวัสดุทางการเกษตรได้

อ่านต่อ...
โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โครงการออกแบบปรับปรุงพื้นที่ชายขอบอ่างแก้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ความรู้ในด้านการบำบัดน้ำด้วยพืชกำลังเติบโต และการประยุกต์ใช้ระบบนิเวศของอ่างแก้วเพื่อการบำบัดยังมีความไม่แน่นอน จากปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์และบริบทของบริเวณโดยรอบ จึงจำเป็นต้องมีการสำรวจและพัฒนาข้อมูลด้านพื้นที่รอบบริเวณอ่างแก้ว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการออกแบบและประยุกต์ใช้พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวเพื่อการบำบัดน้ำและลดอัตราการเกิดปรากฎการณ์สาหร่ายสะพรั่งต่อไปในอนาคต

อ่านต่อ...

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่