สาระพลังงาน

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ มีเพื่อกำจัดของเสียภายในฟาร์ม พร้อมยังได้ก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การใช้ทดแทนแก๊สหุงต้ม การผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในฟาร์ม ที่มากไปกว่านั้นคือกากตะกอนที่เหลือในบ่อหมัก สามารถนำไปตากเพื่อทำเป็นปุ๋ยในการเกษตรได้

‘ระบบแก๊สชีวภาพ’ พลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืนของชุมชน

ระบบแก๊สชีวภาพที่เหมาะสมในระดับชุมชน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบพลาสติก PE แบบไฟเบอร์กลาส แบบโอ่ง แบบฝาครอบลอย แบบถุงดำ PVC แบบถุงผ้าเส้นใยไนล่อน PE ระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพแบบโอ่งขนาด 2 ลบม. เมื่อเติมมูลสัตว์ 1 กก./วัน ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพในปริมาตรเฉลี่ย 0.5 ลบม./วัน สามารถทดแทนแก๊ส LPG ได้ 0.23 กก./วัน ประหยัดเงิน 5.4 บาท/วัน เมื่อนำไปใช้งานในครัวเรือนทำให้ภาคครัวเรือนสามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ได้ 1,971 บาทต่อปี และหากเพิ่มความจุเป็นขนาด 4 ลบม. ก็จะทำให้สามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ขนาดถัง 15 กก. ได้ถึง 3,942 บาท/ปี หรือ 12 ถัง/ปี (คิดที่การใช้ 1 ถัง/เดือน)

คาร์บอนฟุตพริ้นท์

คาร์บอนฟุตพริ้นท์ คือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วยตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ เริ่มต้นตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การประกอบชิ้นส่วน การใช้งาน จนถึงการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปแบบของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์

มช. ปั้น ศูนย์CBG ประจวบฯโมเดลเชิงพานิชย์ใช้ได้จริง

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับใบอนุญาตต่าง ๆ ในการดำเนิงานเชิงพานิชย์ครบถ้วน และได้เริ่มทำการผลิตก๊าซ CBG พร้อมทั้งจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ให้กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2563 เป็นต้นมาสามารถนำไปขยายผลในเชิงพาณิชย์สำหรับระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่มีปริมาณตั้งแต่ 6,000 Nm3/day ขึ้นไปได้ทั่วประเทศ

ภาษีคาร์บอน Carbon Tax คืออะไร ช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร

ภาษีคาร์บอน Carbon Tax เป็นค่าธรรมเนียมหรือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากการผลิต การจำหน่าย หรือใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล เช่น น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ หรือ ถ่านหิน ซึ่งเมื่อเผาไหม้เชื้อเพลิงพวกนี้แล้วจะทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์และถูกปลดปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก การเรียกเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาในแต่ละครั้งของการดำเนินกิจกรรมของโรงงาน โรงไฟฟ้า และยานยนต์ต่างๆ

ERDI-CMU กับนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชน #พลังงานไฟฟ้าและพลังงานทดแทนจากขยะ

สถาบันฯได้สนองนโยบายตามยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ภายในช่วงเวลา 5-10 ปี สถาบันฯได้รับมอบหมายให้ดูแล ออกแบบและบริหารการจัดการในส่วนของ ศูนย์บริหารจัดการชีวมวลครบวงจร มช. เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานทดแทนจากขยะ

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่