หมวดหมู่: พลังงานก๊าซชีวภาพ

ระบบบำบัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพแบบ Conventional Bio Scrubber (Desulfurization on Conventional Bio Scrubber type)

ระบบบำบัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพแบบ Conventional Bio Scrubber (Desulfurization on Conventional Bio Scrubber type)

ก๊าซชีวภาพ “ก๊าซที่ไม่บริสุทธิ์” ในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่อาศัยแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพให้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งก๊าซชีวภาพที่ได้นั้นโดยทั่วไปมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนเป็นหลักประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซคาร์บอนไดอออกไซด์ประมาณ 25 – 35 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซอื่นๆประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ในองค์ประกอบของก๊าซอื่นๆที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) เป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งในการนำก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นพลังงานทดแทน

Read More
“ของเสียจากปาล์มน้ำมัน ปั่นไฟฟ้า ลดโลกร้อน”

“ของเสียจากปาล์มน้ำมัน ปั่นไฟฟ้า ลดโลกร้อน”

การนำน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะข้อดีของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคือมีค่าความสกปรกสูงและมีปริมาณมากในแต่ละวัน จึงมีความเหมาะสมในการนำมาผลิตพลังงานทดแทนในรูปแบบของก๊าซชีวภาพ

Read More
ศรีวิโรจน์ฟาร์ม(SF)                   กับแนวทางบริหารจัดการแบบ Zero waste

ศรีวิโรจน์ฟาร์ม(SF) กับแนวทางบริหารจัดการแบบ Zero waste

ด้วยแนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ได้มากกว่ากำไร ทำให้ของเสียที่ได้จากธุรกิจต่างๆของเป็นศูนย์ (Zero waste) จนกระทั้งบริษัทได้เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ระยะที่ 1 ปี 2554 เพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ ด้วยเทคโนโลยีและที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน นั่นจึงเป็นเสมือนจุดต่อยอดในส่วนของเกษตรพลังงานของบริษัทฯ โดยปัจจุบัน ศรีวิโรจน์ฟาร์มมีระบบก๊าซชีวภาพขนาด 8,000 ลูกบาศก์เมตร ในการรองรับมูลไก่เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม

Read More
ขยะจากเศษอาหารสู่แก๊สหุงต้ม

ขยะจากเศษอาหารสู่แก๊สหุงต้ม

ไบโอแก๊สหรือก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร ที่ ตลาดร่มสัก ฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินระบบมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพปริมาตรสูงสุด 16 ลบ.ม.ต่อวัน ผลิตกากตะกอนปุ๋ยสูงสุด 2-5 กก.ต่อวัน โดยนำก๊าซชีวภาพไปทดแทนก๊าซหุงต้มได้เดือนละ 5-6 ถัง สำหรับต้มน้ำฆ่าเชื้อโรคหลังจากการทำความสะอาดภาชนะ เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบันระบบมีกำลังการผลิต 50% ของของเสียเศษอาหาร(ข้อมูลสะสมถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2558)กำจัดของเสียจากโรงอาหารตลาดร่มสักรวม 119 ตัน ผลิตก๊าซชีวภาพสะสม 8,326 ลบ.ม. ทดแทน LPG 4,163 กก.

Read More
การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ

การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ มีเพื่อกำจัดของเสียภายในฟาร์ม พร้อมยังได้ก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การใช้ทดแทนแก๊สหุงต้ม การผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในฟาร์ม ที่มากไปกว่านั้นคือกากตะกอนที่เหลือในบ่อหมัก สามารถนำไปตากเพื่อทำเป็นปุ๋ยในการเกษตรได้

Read More
‘ระบบแก๊สชีวภาพ’ พลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืนของชุมชน

‘ระบบแก๊สชีวภาพ’ พลังงานทดแทนเพื่อความยั่งยืนของชุมชน

ระบบแก๊สชีวภาพที่เหมาะสมในระดับชุมชน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบพลาสติก PE แบบไฟเบอร์กลาส แบบโอ่ง แบบฝาครอบลอย แบบถุงดำ PVC แบบถุงผ้าเส้นใยไนล่อน PE ระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพแบบโอ่งขนาด 2 ลบม. เมื่อเติมมูลสัตว์ 1 กก./วัน ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพในปริมาตรเฉลี่ย 0.5 ลบม./วัน สามารถทดแทนแก๊ส LPG ได้ 0.23 กก./วัน ประหยัดเงิน 5.4 บาท/วัน เมื่อนำไปใช้งานในครัวเรือนทำให้ภาคครัวเรือนสามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ได้ 1,971 บาทต่อปี และหากเพิ่มความจุเป็นขนาด 4 ลบม. ก็จะทำให้สามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ขนาดถัง 15 กก. ได้ถึง 3,942 บาท/ปี หรือ 12 ถัง/ปี (คิดที่การใช้ 1 ถัง/เดือน)

Read More
มช. ปั้น ศูนย์CBG ประจวบฯโมเดลเชิงพานิชย์ใช้ได้จริง

มช. ปั้น ศูนย์CBG ประจวบฯโมเดลเชิงพานิชย์ใช้ได้จริง

ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 นี้ สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับใบอนุญาตต่าง ๆ ในการดำเนิงานเชิงพานิชย์ครบถ้วน และได้เริ่มทำการผลิตก๊าซ CBG พร้อมทั้งจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ให้กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2563 เป็นต้นมาสามารถนำไปขยายผลในเชิงพาณิชย์สำหรับระบบผลิตก๊าซชีวภาพที่มีปริมาณตั้งแต่ 6,000 Nm3/day ขึ้นไปได้ทั่วประเทศ

Read More

เรื่องล่าสุด

หมวดหมู่