แนวทางการ สร้างชุมชนน่าอยู่ ไร้มลพิษ ด้วยพลังงานทดแทนหรือ Green and Clean Community Solution
การพัฒนาชุมชนสู่ชุมชนสังคมสีเขียวอย่างมีประสิทธิภาพนั้น
หลักสำคัญคือจำเป็นต้องมีการบริการจัดการสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจำเป็นต้องดูแลรักษาระบบนิเวศภายในชุมชุมให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ปลอดจากปัญหามลพิษ รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย
เทคโนโลยีของ ERDI-CMU ที่พร้อมให้คำปรึกษาและบริการ
เพื่อสร้างพลังงานสะอาดเพื่อชุมชนและการเปลี่ยนของเสียภายในชุมชนให้เป็นพลังงานทดแทน
ระบบบำบัดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ในก๊าซชีวภาพแบบ Conventional Bio Scrubber (Desulfurization on Conventional Bio Scrubber type)
ก๊าซชีวภาพ “ก๊าซที่ไม่บริสุทธิ์” ในกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ที่อาศัยแบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต เพื่อผลิตก๊าซชีวภาพให้เป็นพลังงานทดแทน ซึ่งก๊าซชีวภาพที่ได้นั้นโดยทั่วไปมีองค์ประกอบของก๊าซมีเทนเป็นหลักประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ ก๊าซคาร์บอนไดอออกไซด์ประมาณ 25 – 35 เปอร์เซ็นต์ และก๊าซอื่นๆประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์ ในองค์ประกอบของก๊าซอื่นๆที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟต์ (H2S) เป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดปัญหาอย่างยิ่งในการนำก๊าซชีวภาพไปใช้เป็นพลังงานทดแทน
Read Moreการนำน้ำเสียจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เพราะข้อดีของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคือมีค่าความสกปรกสูงและมีปริมาณมากในแต่ละวัน จึงมีความเหมาะสมในการนำมาผลิตพลังงานทดแทนในรูปแบบของก๊าซชีวภาพ
Read Moreศรีวิโรจน์ฟาร์ม(SF) กับแนวทางบริหารจัดการแบบ Zero waste
ด้วยแนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ได้มากกว่ากำไร ทำให้ของเสียที่ได้จากธุรกิจต่างๆของเป็นศูนย์ (Zero waste) จนกระทั้งบริษัทได้เข้าร่วมในโครงการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ระยะที่ 1 ปี 2554 เพื่อติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงไก่ ด้วยเทคโนโลยีและที่ปรึกษาจากสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน นั่นจึงเป็นเสมือนจุดต่อยอดในส่วนของเกษตรพลังงานของบริษัทฯ โดยปัจจุบัน ศรีวิโรจน์ฟาร์มมีระบบก๊าซชีวภาพขนาด 8,000 ลูกบาศก์เมตร ในการรองรับมูลไก่เพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าในฟาร์ม
Read Moreไบโอแก๊สหรือก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร ที่ ตลาดร่มสัก ฝายหิน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินระบบมาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 จนถึงปัจจุบัน สามารถผลิตก๊าซชีวภาพปริมาตรสูงสุด 16 ลบ.ม.ต่อวัน ผลิตกากตะกอนปุ๋ยสูงสุด 2-5 กก.ต่อวัน โดยนำก๊าซชีวภาพไปทดแทนก๊าซหุงต้มได้เดือนละ 5-6 ถัง สำหรับต้มน้ำฆ่าเชื้อโรคหลังจากการทำความสะอาดภาชนะ เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมงต่อวัน ปัจจุบันระบบมีกำลังการผลิต 50% ของของเสียเศษอาหาร(ข้อมูลสะสมถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2558)กำจัดของเสียจากโรงอาหารตลาดร่มสักรวม 119 ตัน ผลิตก๊าซชีวภาพสะสม 8,326 ลบ.ม. ทดแทน LPG 4,163 กก.
Read Moreเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน ตอบโจทย์โรงไฟฟ้าชุมชน
CMU – CSTR Technolog…
Read Moreการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซชีวภาพ มีเพื่อกำจัดของเสียภายในฟาร์ม พร้อมยังได้ก๊าซชีวภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ เช่น การใช้ทดแทนแก๊สหุงต้ม การผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในฟาร์ม ที่มากไปกว่านั้นคือกากตะกอนที่เหลือในบ่อหมัก สามารถนำไปตากเพื่อทำเป็นปุ๋ยในการเกษตรได้
Read MoreERDI CMU แนะนำ การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ ใน 2 รูปแบบ
Read Moreระบบแก๊สชีวภาพที่เหมาะสมในระดับชุมชน มีหลากหลายรูปแบบ เช่น แบบพลาสติก PE แบบไฟเบอร์กลาส แบบโอ่ง แบบฝาครอบลอย แบบถุงดำ PVC แบบถุงผ้าเส้นใยไนล่อน PE ระบบบ่อหมักแก๊สชีวภาพแบบโอ่งขนาด 2 ลบม. เมื่อเติมมูลสัตว์ 1 กก./วัน ทำให้เกิดก๊าซชีวภาพในปริมาตรเฉลี่ย 0.5 ลบม./วัน สามารถทดแทนแก๊ส LPG ได้ 0.23 กก./วัน ประหยัดเงิน 5.4 บาท/วัน เมื่อนำไปใช้งานในครัวเรือนทำให้ภาคครัวเรือนสามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ได้ 1,971 บาทต่อปี และหากเพิ่มความจุเป็นขนาด 4 ลบม. ก็จะทำให้สามารถประหยัดค่าแก๊ส LPG ขนาดถัง 15 กก. ได้ถึง 3,942 บาท/ปี หรือ 12 ถัง/ปี (คิดที่การใช้ 1 ถัง/เดือน)
Read More